ที่มาของนมโฟร์โมสต์

สวัสดีครับเพื่อนๆ ชาวโฟร์โมสต์ เราเคยสงสัยกัน มั้ยครับว่า จริงแล้วโฟร์โมสต์ก่อกำเนิดเกิดขึ้นมาได้ อย่างไร เมื่อไหร่ และกว่าจะมาเป็นโฟร์โมสต์ที่เป็นที่ รู้จักอย่างเช่นปัจจุบัน บริษัทฯ ผ่านอะไรกันมาบ้าง วันนี้ ทีมงานจะมาเล่าสู่กันฟัง เชิญติดตามอ่านได้เลยครับ

ประวัตินมโฟร์โมสต์

2499 บริษัทโฟร์โมสต์อาหารนม (กรุงเทพฯ) จำกัด จดทะเบียนก่อตั้งบริษัทเมื่อวันที่ 10 สิงหาคม เพื่อผลิตและจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ไอศกรีมในชื่อการค้า “ไอศกรีมโฟร์โมสต์” โดยมีสถานที่ตั้งอยู่ที่ 99/30 หมู่2 ถนนแจ้งวัฒนะ ทุ่ง สองห้อง หลักสี่ กรุงเทพฯ 10210

2510 บริษัท พระนครมิลค์ อินดัสตรีย์ จำกัด จดทะเบียนก่อตั้งบริษัทเมื่อวันที่ 28 มิถุนายน ด้วยทุนจดทะเบียน 20 ล้านบาท เริ่มสร้างโรงงานที่จังหวัดสมุทรปราการ ตั้งอยู่ที่ 89/2 หมู่8 ซอยวัดสวนส้ม ถนนปู่เจ้าสมิงพราย ตำบลสำโรงใต้ พระประแดง สมุทรปราการ 10130

2512 เดือนเมษายน เริ่มผลิตและจัดจาหน่ายนมข้นหวานและนมข้นไม่หวาน ด้วยกำลังการผลิต 1.4 ล้าน หีบต่อปี

2514 ขยายกำลังการผลิตเป็น 1.8 ล้านหีบต่อปี

2521 เริ่มผลิตส่งออกไปจาหน่ายยังต่างประเทศ ได้แก่ สิงคโปร์ ฮ่องกง ไต้หวัน ลาว ศรีลังกา และปากีสถาน

2523 ซื้อกิจการนมอลาสก้า (Alaska Milk Industry Ltd.)

2527 เดือนมิถุนายน เริ่มจำหน่ายนมพร้อมดื่มสาเร็จ รูป UHT

2528 บริษัท อุตสาหกรรมนมพระนคร จำกัด เปลี่ยนชื่อเป็น บริษัท โฟร์โมสต์ ฟรีสแลนด์ (ประเทศไทย) จำกัด

ประวัติและวิสัยทัศน์โฟร์โมสต์

2535 บริษัท โฟร์โมสต์อาหารนม (กรุงเทพฯ) จำกัด ได้ขายธุรกิจไอศกรีมให้กับบริษัท Unilever

2536 เดือนมกราคม เริ่มจำหน่ายผลิตภัณฑ์ UHT “โอวันติน”

2542 ได้รับการรับรองมาตรฐาน HACCP จาก SGS ประเทศไทย

2547 บริษัทเปลี่ยนเป็น Royal Friesland Foods เมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม และออกผลิตภัณฑ์ “โอเมก้า 3” สู่ตลาด

2548 เดือนพฤษภาคม บริษัท โฟร์โมสต์ ฟรีสแลนด์ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) เปลี่ยนชื่อจดทะเบียนเป็น บริษัท ฟรีสแลนด์ ฟู้ดส์ โฟร์โมสต์ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน)

2549 เดือนสิงหาคม ออกผลิตภัณฑ์ Calcimex Beautiva และในเดือนพฤศจิกายน โฟร์โมสต์ได้เป็นบริษัทฯ แห่งแรกที่ เกี่ยวกับธุรกิจโคนมที่ได้รับ ISO 22000:2005 จาก SGS ประเทศไทย

2551 Friesland Foods รวมตัวกับ Campina โดยก่อ ตั้ง Dairy CooperativeFrieslandCampina และ The RoyalFrieslandCampina เพื่อขยายฐานการผลิต และจัดจำหน่ายสู่ระดับโลก

2552 เปิดสถานที่รับน้ำนมดิบที่ทันสมัย อย่างยิ่งใหญ่ที่ โรงงานสำโรง

2554 เดือนพฤษภาคม บริษัท ฟรีสแลนด์ ฟู้ดส์ โฟร์ โมสต์ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) เปลี่ยนชื่อจด ทะเบียนเป็น บริษัท ฟรีสแลนด์คัมพิน่า (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) และ เดือนพฤษภาคม บริษัท โฟร์โมสต์อาหารนม (กรุงเทพฯ) จำกัด เปลี่ยนชื่อจดทะเบียนเป็น บริษัท ฟรีสแลนด์คัมพิน่า เฟรช (ประเทศไทย) จำกัด ตามนโยบายของบริษัทแม่ ณ ประเทศเนเธอร์แลนด์

ฟรีสแลนด์คัมพิน่า
กระบวนการผลิตนม

กระบวนการผลิตนม

กระบวนการผลิตนมมีผลต่อคุณประโยชน์ของนมจริงหรือ? อะไรคือสิ่งที่เราควรให้ความสำคัญในการผลิตนมกันแน่? หนึ่งในวิธีการแบ่งประเภทนมโคพร้อมดื่ม คือการแยก ตามกระบวนการให้ความร้อน ซึ่งสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภทหลัก ได้แก่ นมสเตอริไลซ์ (sterilized milk) ที่มีการให้ความร้อนในระดับสูงสุด ตามด้วย นมยูเอชที (UHT milk) และนมพาสเจอไรซ์ (pasteurized milk)

ซึ่งกระบวนการให้ความร้อนถือเป็นกระบวนการสำคัญในการเก็บรักษานม เนื่องจากเป็นการทำลายจุลินทรีย์ทั้งที่ก่อให้ เกิดโรค และจุลินทรีย์ที่ทำให้อาหารเสื่อมเสีย เพราะนมเป็นอาหารที่มีสารอาหารครบถ้วนเหมาะแก่การเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ จึงต้องการความร้อนที่ทำลายจุลินทรีย์และเอนไซม์ต่างๆ เพื่อให้นมนั้นมีคุณภาพ และปลอดภัยสำหรับผู้บริโภค นมสเตอริไลซ์มีมักอยู่ในบรรจุภัณฑ์ที่เป็นกระป๋องโลหะ และมีอายุการเก็บได้นานถึง 12 เดือน อย่างไรก็ดีถึงแม้จะมีอายุการเก็บนานที่สุด แต่ด้วยผลิตภัณฑ์ผ่านการฆ่าเชื้อด้วยอุณหภูมิที่สูงเป็นระยะเวลานาน ทำให้มีการเปลี่ยน แปลงในรสชาติ สี และสูญเสียวิตามินบางชนิด นมยูเอชที มีการให้ความร้อนที่อุณหภูมิสูงแต่ใช้ระยะเวลาสั้นกว่า ดังนั้นการสูญเสียวิตามินจะมีเพียงเล็กน้อยอย่างไม่มีนัยสำคัญมีอายุการเก็บประมาณ 6-8 เดือน นมพาสเจอร์ไรซ์ มีการให้ความร้อนที่ระดับต่ำและมีอายุการเก็บต่ำที่สุดประมาณ 10 วัน โดยต้องเก็บไว้ในตู้เย็น

ข้อดีของการให้ความร้อนในระดับนี้คือรสชาติและสีของนมจะไม่เกิดการเปลี่ยนแปลงทั้งนี้ทั้งนั้นการสูญเสียวิตามินจะมีเพียงเล็กน้อยเช่นเดียวกับนมยูเอชที จะเห็นได้ว่ากระบวนการผลิตนมนั้นสำคัญเพราะความร้อนจากการผลิตนั้นจำเป็นมากต่อการทำลายจุลินทรีย์ที่ก่อให้เกิดโรคและทำให้อาหารเสื่อมเสีย อีกทั้งการควบคุมคุณภาพของการผลิตเองล้วนมีผลต่อคุณภาพและความปลอดภัยของนม ดังนั้นเพื่อให้มั่นใจว่านมนั้นปลอดภัยมีคุณค่าทางโภชนาการครบถ้วน และมีคุณภาพมาตรฐานที่ดีสำหรับผู้บริโภคผู้ผลิตนมจึงควรให้ความสำคัญกับมาตรฐานการผลิต ที่จะทำให้คงคุณค่าทางสารอาหารพร้อมทำลายจุลินทรีย์ และเอนไซม์ที่ไม่จำเป็นอย่างมีประสิทธิภาพ