ภาพจากกิจกรรม-โครงการเพื่อสังคมของฟรีสแลนด์คัมพิน่า และ แบรนด์โฟร์โมสต์ (4)
ฟรีสแลนด์คัมพิน่า ประเทศไทย ร่วมกับ
สถาบันโภชนาการ มหิดล
เผยผลสำรวจสุขภาพเด็กไทยในยุคโควิด – 19 แบบเจาะลึก SEANUTS II
ชี้เด็กอายุ 6 เดือน – 12 ปี ยังประสบภาวะทุพโภชนาการ น้ำหนักเกิน ขณะที่กิจกรรมกลางแจ้งลดลง
พร้อมผนึกกำลังส่งต่อข้อมูลสู่แผนโภชนาการระดับชาติ
กรุงเทพฯ 29 กันยายน 2565 – บริษัท ฟรีสแลนด์คัมพิน่า (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) ร่วมกับ สถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล เผยผลสำรวจภาวะโภชนาการในเด็กแบบเจาะลึก จากโครงการ SEANUTS II ชี้เด็กไทยมีประเด็นทางสุขภาพที่ยังน่าเป็นห่วง ได้แก่ น้ำหนักเกินเกณฑ์และอ้วน ซึ่งพบในเด็กอายุ 7 – 12 ปี มากกว่า 30% ในเด็กอายุต่ำกว่า 1 ปีเผชิญกับภาวะโลหิตจางที่สูงถึง 50% การบริโภคอาหารและปริมาณพลังงาน-สารอาหารที่ได้รับในแต่ละวันที่ไม่สมดุล พร้อมตั้งข้อสังเกตถึงพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงจากการสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด – 19 เช่น กิจกรรมกลางแจ้งที่ลดลงถึง 32%  เนื่องจากเด็กใช้ชีวิตกับอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์มากขึ้น โดยทั้งสองหน่วยงานตั้งเป้าที่จะเผยแพร่ให้เป็นความรู้แก่ผู้ปกครอง บุคคลทั่วไป พร้อมส่งต่อข้อมูลสำคัญไปสู่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อกำหนดเป็นแผนส่งเสริมสุขภาพและโภชนาการที่จำเป็น รวมถึงการพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่ตอบโจทย์ความต้องการด้านสุขภาพของเด็กในอนาคต เพื่อแก้ไขปัญหาภาวะโภชนาการเด็กไทยแบบบูรณาการ
ร.ศ.ดร.ชลัท ศานติวรางคณา ผู้อำนวยการ สถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัย มหิดล
รศ. ดร.นิภา โรจน์รุ่งวศินกุล หัวหน้าทีมวิจัย SEANUTS ครั้งที่ 2
ดร.โอฬาร ขณะกำลังให้ข้อมูลในประเด็นภาวะโภชนาการเด็กไทย
รศ.ดร.ชลัท ศานติวรางคณา ผู้อำนวยการสถาบันโภชนาการมหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า “ความมั่นคงทางอาหารและโภชนาการที่ดี ส่งผลต่อการมีคุณภาพชีวิตที่ดีของประชากรในประเทศ ซึ่งเป็นทรัพยากรสำคัญที่จะขับเคลื่อนให้เกิดการพัฒนาด้านอื่นๆ ในฐานะหน่วยงานวิชาการที่มุ่งสร้างความเข้มแข็งทางด้านอาหารและโภชนาการของชาติ จึงเล็งเห็นถึงความสำคัญของการทำสำรวจภายใต้โครงการ SEANUTS (South East Asian Nutrition Surveys) เพื่อให้เข้าใจถึงข้อมูลเชิงลึก ที่เป็นปัจจัยอันส่งผลต่อภาวะโภชนาการของเด็กในภูมิภาคอาเซียน รวมถึงประเทศไทย ไม่ว่าจะเป็นการบริโภคอาหาร หรือพฤติกรรม-การใช้ชีวิตของเด็กที่เกี่ยวข้องต่อสุขภาพ โดยทางสถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้ดำเนินร่วมกับทางสถาบันวิจัยฟรีสแลนด์คัมพิน่าทำสำรวจเป็นครั้งที่สองแล้ว หลังจากที่ได้ดำเนินการครั้งแรกไปเมื่อปี พ.ศ. 2553-2554 โดยการสำรวจครั้งล่าสุดในปีพ.ศ. 2562 – 2564 ที่ผ่านมา มีสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด – 19 มาเป็นปัจจัยเพิ่มเติมที่น่าสนใจ”
รศ. ดร.นิภา โรจน์รุ่งวศินกุล หัวหน้าทีมวิจัย SEANUTS ครั้งที่ 2
รศ.ดร.นิภา โรจน์รุ่งวศินกุล ที่ปรึกษาสถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล และหัวหน้าโครงการ SEANUTS II ของประเทศไทย เปิดเผยว่า “ภาวะทุพโภชนาการในเด็กยังคงเป็นปัญหาหลักในหลาย ๆ ประเทศทั่วโลก รวมถึงประเทศไทย ซึ่งสะท้อนถึงคุณภาพของอาหารและโภชนาการเด็กที่ยังต้องปรับปรุง โดยปัจจุบันเด็กไทยช่วงอายุ 6 เดือน -12 ปี ทั้งในเขตเมืองและพื้นที่ห่างไกล ยังคงเผชิญกับภาวะทุพโภชนาการหลากหลายรูปแบบ และหลายครั้งพบว่า ในหนึ่งครอบครัวมีสมาชิกที่มีภาวะทุพโภชนาการหลายลักษณะ ไม่ว่าจะเป็นการขาดสารอาหาร หรือมีอัตราน้ำหนักเกินและโรคอ้วน โดยเฉพาะในเด็กอายุ 7-12 ปี ที่มีมากกว่า 30% ซึ่งเป็นปัจจัยเสี่ยงสู่โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง เช่น โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคเบาหวาน ฯลฯ และยังพบว่า มีเด็กที่อายุ 6 เดือน – 12 ปี มากกว่า 70% ได้รับแคลเซียมไม่ถึงเกณฑ์ที่แนะนำสำหรับการบริโภคต่อวัน นอกจากนี้ จากการสำรวจพบภาวะโลหิตจางในเด็กกลุ่มที่อายุต่ำกว่า 4 ปี ของไทยที่สูงถึง 40% ซึ่งมากกว่าประเทศอื่นในกลุ่มดำเนินการสำรวจ โดยภาวะดังกล่าวอาจส่งผลต่อพัฒนาการด้านสติปัญญา การเจริญเติบโตของร่างกายและประสิทธิภาพในการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายได้ ขณะที่สัญญาณเบื้องต้นของปัญหาทุพโภชนาการอย่างภาวะเตี้ยแคระแกร็นในเด็กอายุ 0 – 5 ปี พบว่าลดลงจากในช่วง 10 ปีที่ผ่านมาซึ่งในอดีตอยู่ที่ 10.6% แต่ปัจจุบันพบราว 4.6% และน้อยที่สุดเมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มประเทศที่ร่วมกันจัดทำการสำรวจ SEANUTS II”
รศ.ดร.นิภา ขยายความต่อถึงพฤติกรรมที่เกี่ยวข้องกับภาวะโภชนาการและสุขภาพของเด็กว่า “ทางทีมวิจัยได้มีการสำรวจพฤติกรรมการบริโภคอาหารเช้า เป็นสัญญาณที่ดีว่าเด็กไทยส่วนใหญ่บริโภคมื้อเช้า และมากกว่า 55% รับประทานไข่ไก่เป็นประจำ โดยมากกว่าหรือเท่ากับ 4 ฟอง / สัปดาห์ ขณะที่ 88.1% ดื่มนมมากกว่า 4 แก้ว / สัปดาห์  และเมื่อทำการสำรวจลงลึกถึงคุณภาพของสารอาหาร พบว่าเด็กที่ได้รับแคลอรี่ที่เพียงพอในมื้อเช้า มีสัดส่วนของการขาดสารอาหาร ทั้งในกลุ่มสารอาหารหลักและกลุ่มสารรองที่จำเป็นต่อร่างกาย เช่น โปรตีน ธาตุเหล็ก สังกะสี วิตามิน A, C, D, B1, B2, B3 และ B12 ที่ลดลง (ขาดน้อยลง) เมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มที่ได้รับแคลอรี่จากมื้อเช้าต่ำ ดังนั้นการบริโภคอาหารเช้าที่พอเพียงจะส่งผลต่อการได้รับสารอาหารที่พอเพียงตลอดทั้งวัน
ผลสรุปผลสำรวจ SEANUTS II

เมื่อเทียบกับในอดีตยังพบว่าการบริโภคอาหารแปรรูป เครื่องดื่มรสหวาน และของว่างไม่ได้มีการเปลี่ยนแปลงมากนัก แต่สิ่งที่เปลี่ยนไปอย่างมีนัยสำคัญ คือ การเคลื่อนไหวร่างกายกลางแจ้งที่ลดลงอยู่ที่ 32% ในช่วงการแพร่ระบาดของโรคโควิด – 19 โดยภาพรวมอยู่ที่ 39% ในเด็กอายุ 10-12 ปี จะมีการเคลื่อนไหวร่างกายต่ำกว่าเกณฑ์ สวนทางกับการเพิ่มขึ้นของการใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งอาจส่งผลต่อสุขภาวะโดยรวมของเด็ก หรือนำไปสู่ภาวะการขาดวิตามินดีได้

ดร. โอฬาร โชว์วิวัฒนา ผู้อำนวยการฝ่ายองค์กรสัมพันธ์
ดร. โอฬาร โชว์วิวัฒนา ผู้อำนวยการฝ่ายองค์กรสัมพันธ์ บริษัท ฟรีสแลนด์คัมพิน่า (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) กล่าวถึงการนำผลสำรวจมาต่อยอด ว่า จากผลสำรวจ SEANUTS II มีหลายส่วนที่น่าสนใจ แม้สถานการณ์โดยรวม ทั้งในเรื่องการบริโภคอาหารเช้า หรือ ทุพโภชนาการลักษณะขาด (ภาวะแคระแกร็น) ประเทศไทยจะอยู่ในระดับที่ดีกว่าประเทศอื่นในกลุ่มอาเซียน แต่ยังมีอีกหลายส่วนที่เราสามารถปรับปรุงให้ดียิ่งขึ้นได้ อาทิ การได้รับปริมาณแคลเซียมที่ไม่เพียงพอ ทั้งๆ ที่เด็กไทยดื่มนมเป็นประจำ อย่างที่เราทราบกันดีว่า ปริมาณการดื่มนมที่แนะนำสำหรับเด็ก คือ 2-3 แก้ว / วัน  แม้เด็กจะดื่มมากกว่า 4 แก้ว / สัปดาห์จึงยังอาจไม่เพียงพอ และสิ่งนี้ยังทำให้ผู้ผลิตต้องหันกลับมาดูคุณภาพและสารอาหารในนมพร้อมดื่ม เมื่อนมเป็นอาหารหลักที่เด็กรับประทาน ขณะที่ภาพรวมของอาเซียนทุพโภชนาการ (ทุกลักษณะ) ยังคงเป็นปัญหาใหญ่ที่มีร่วมกันในทุกประเทศ
ภาพจากกิจกรรม-โครงการเพื่อสังคมของฟรีสแลนด์คัมพิน่า และ แบรนด์โฟร์โมสต์ (7)
ภาพจากกิจกรรม-โครงการเพื่อสังคมของฟรีสแลนด์คัมพิน่า และ แบรนด์โฟร์โมสต์ (5)
ภาพจากกิจกรรม-โครงการเพื่อสังคมของฟรีสแลนด์คัมพิน่า และ แบรนด์โฟร์โมสต์

การสำรวจภาวะโภชนาการครั้งล่าสุดของโครงการ SEANUTS มุ่งเน้นการศึกษาประเด็นต่างๆ อย่างครอบคลุม รวมถึงพฤติกรรมที่เกี่ยวข้อง เพื่อเป็นประโยชน์แก่สังคมโดยรวมและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ในการมีข้อมูลสำคัญสำหรับใช้เป็นแนวทางเพื่อกำหนดนโยบาย ไปจนถึงการออกแบบกิจกรรมที่สนับสนุนการเจริญเติบโต การพัฒนาด้านโภชนาการและสุขภาพของเด็ก นอกจากนี้ ฟรีสแลนด์คัมพิน่า ประเทศไทย ในฐานะผู้นำในอุตสาหกรรมนมของประเทศ ยังเล็งเห็นถึงประโยชน์ของการนำข้อมูลทางวิชาการนี้ มาใช้ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์นมที่ตอบโจทย์ความต้องการของด้านโภชนาการของเด็กไทย อย่างเช่น การเพิ่มเติมโฟเลตและธาตุเหล็กลงไปในนมพร้อมดื่ม เพื่อช่วยลดปัญหาภาวะโลหิตจางในเด็ก เป็นต้น พร้อมมุ่งหวังถึงการสร้างความร่วมมือกับภาคส่วนที่เกี่ยวข้องในการขับเคลื่อนกิจกรรมที่ช่วยพัฒนาภาวะโภชนาการและส่งมอบสุขภาพที่ดีให้แก่คนไทยได้  โดยล่าสุดบริษัทฯ ได้เดินหน้าต่อในโครงการเพื่อสังคม “โฟร์โมสต์ส่งต่อรอยยิ้มให้เด็กไทยปีที่ 2” ที่เป็นการบริจาคนมยูเอชทีโฟร์โมสต์ 1,000,000 กล่อง ให้แก่เด็กและครอบครัวกลุ่มเปราะบางที่ได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจทั่วประเทศ ผ่านมูลนิธิและหน่วยงานเครือข่ายของพาร์ทเนอร์หลักอย่างมูลนิธิกระจกเงา เป็นการอุดช่องว่างให้กับเด็กไทยผู้ยากไร้ ลดผลกระทบในระยะยาวที่อาจเกิดขึ้นจากการขาดโอกาสทางโภชนาการในวัยเด็ก สอดคล้องกับพันธกิจขององค์กรในการส่งมอบโภชนาการที่ดียิ่งขึ้น เพื่อสุขภาพที่ดียิ่งขึ้นของทุกคนในสังคม”

ดูรายละเอียดสินค้าเพิ่มเติม

Share

ยินดีด้วย!

คุณได้เลื่อนระดับสมาชิกเป็นระดับ

“Silver Member”

เราขอมอบส่วนลดเพิ่มให้ 4%

ตรวจสอบสิทธิประโยชน์เพิ่มเติมได้ที่
สิทธิประโยชน์สำหรับสมาชิก

ยินดีด้วย!

คุณได้เลื่อนระดับสมาชิกเป็นระดับ

“Bronze Member”

เราขอมอบส่วนลดเพิ่มให้ 2%
ตรวจสอบสิทธิประโยชน์เพิ่มเติมได้ที่
สิทธิประโยชน์สำหรับสมาชิก

ยินดีด้วย!

คุณได้เลื่อนระดับสมาชิกเป็นระดับ

“Gold Member”

เราขอมอบส่วนลดเพิ่มให้ 6%

ตรวจสอบสิทธิประโยชน์เพิ่มเติมได้ที่
สิทธิประโยชน์สำหรับสมาชิก

สุขสันต์รับเดือนเกิด

Happy Birthday!

ให้เดือนเกิดของคุณเป็นเดือนพิเศษ!

รับเลย! คูปองส่วนลด 200 บาท เมื่อซื้อครบ 1,500 บาท

ตรวจสอบคูปองส่วนลดของคุณได้ที่